ความสำคัญของกฎหมายท่องเที่ยว สัญชาติญาณของมนุษย์ชอบที ่จะกระทำสิ่งใดๆ ตามใจตน เพราะมนุษย์รักความเป็นอิสระ แต่ถ้าทุกคนทำ อะไรตามใจชอบของตนจนเกินไป ก็อาจเป็นการรบกวนและก่อความเดือดร้อนให้ผู้อื่น ดังนั้นการกำหนดขอบเขตความ อิสระในการทำสิ่งใดๆ จึงต้องมีการจำกัดลงด้วยมาตรฐานอันเดียวกันที่จะใช้บังคับเป็นการทั่วไปแก่ทุกคนในลักษณะของ กฎเกณฑ์และข้อบังคับต่างๆ ซึ่งจะกำหนดวิถีทางปฏิบัติภาระกิจของมนุษย์ประจำวันนับตั้งแต่เกิดจนตาย หากผู้ใดกระทำ เกินเลยขอบเขตที ่กำหนดไว้แล้ว ผู ้นั ้นก็ย่อมจะต้องได้รับบทลงโทษจากสังคมเป็นการตอบแทน กฎเกณฑ์และข้อบังคับ เหล่านี้ได้วิวัฒนาการตามภาวะของสังคมจนกลายเป็น “กฎหมาย” ซึ่งจะได้วิวัฒนาการต่อไป ดังนั้นเราจึงไม่อาจปฏิเสธได้ เลยว่าชีวิตของคนเรานี้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้กฎหมายและเกี่ยวข้องกับกฎหมาย โดยเฉพาะในปัจจุบัน เราจะยิ่งเห็นได้ชัดว่ากฎหมายเกี่ยวพันกับชีวิตเรามาก ตั้งแต่เราเกิด กฎหมายก็กำหนด จะสมรสก็ต้องจดทะเบียนสมรส เมื ่อเสียชีวิตลงก็ต้องแจ้งเพื่อขอรับใบมรณะบัตร นอกจากนี้ในชีวิตประจำวันก็ยังมีกรณี เกี่ยวพันกับกฎหมาย เช่น ตื่นขึ้นมาต้องออกไปจ่ายตลาดซื้ออาหารบริโภคก็ต้องใช้กฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยซื้อขาย เมื ่อไปทำงานเป็นลูกจ้างเข้าก็ต้องใช้กฎหมายแจ้งแรงงานและกฎหมายแรงงาน จึงเห็นว่าในแต่ละวันชีวิตของเราต้องผูกพัน กับกฎหมายตลอดเวลา นอกจากนี้ ในชีวิตของเราส่วนที่ต้องเกี่ยวข้องกับชาติบ้านเมือง จะเห็นได้ว่าประชาชนทุกคนในชาติย่อมมีสิทธิ และหน้าที่ตามกฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ ซึ่งสิทธิต่างๆ นี้ เราก็ได้มากมายหลายประการตามที่รัฐธรรมนูญให้ไว้ แต่ ทั้งนี้หน้าที่ของประชาชนต่อชาติก็ย่อมมีขึ้นจะต้องปฏิบัติไปให้ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น หน้าที่ในการเสียภาษีอากร หน้าที่ สำหรับชายไทยจะต้องเข้ารับราชการทหาร สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วก็เป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติไปตามกฎหมายทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี ้ การเรียนรู้กฎหมายจึงมีความจำเป็นแก่ประชาชน เพราะเป็นการให้ประโยชน์ แก่ประชาชนเอง โดยตรง และในขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างความเป็นระเบียบ และความสงบเรียบร้อยในสังคมขึ้น เพราะถ้าหากประชาชน ขาดความรู้ ความเข้าใจทางด้านกฎหมายก็มักจะเกิดปัญหาขึ้น อันเป็นข้อขัดแย้งระหว่างประชาชนด้วยกัน และประชาชน ต่อข้าราชการผู้ปฏิบัติการไปตามหน้าที ่ ซึ ่งปรากฎอยู ่เสมอว่า ข้อขัดแย้งเหล่านี ้เกิดจากความไม่เข้าใจอันเนื ่องมาจาก สาเหตุหลักประการหนึ่งก็คือความไม่รู้กฎหมายนั่นเอง ดังนั้น ในทางกฎหมายจึงเกิดหลักเกณฑ์สำคัญประการหนึ่งว่า “ความไม่รู้กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว” ทั้งนี้ เป็น หลักที ่สืบเนื ่องมาจากนโยบายในกฎหมายว่า บุคคลใดจะแก้ตัวว่าไม่รู ้กฎหมายเพื ่อให้หลุดพ้นจากความรับผิดตาม กฎหมายได้ ทั้งนี้ เพราะหากให้มีการกล่าวอ้างดังกล่าวได้ การบังคับใช้กฎหมายก็จะไม่เป็นประโยชน์แก่คนทุกคน เพราะ บางคนจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นผิดกันเสียหมด ก็คงไม่ต้องมีการรับโทษตามความรับผิดชอบนั้น ยิ่งกว่านั้นถ้า หากให้แก้ตัวได้ก็จะยิ่งเป็นการส่งเสริมให้คนปิดหูปิดตาไม่รับรู้กฎหมาย เพราะถ้ายิ่งรู้มากก็ต้องรับผิดมาก ถ้ารู้น้อยๆ ก็ไม่ ต้องรับผิดเท่าไร ฉะนั้น โดยหลักแล้ว บุคคลจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความผิดกฎหมายไม่ได้เว้นแต่กฎหมายจะเปิด โอกาสให้กล่าวอ้างได้ ข้อยกเว้น เช่น ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 64 ซึ่งบัญญัติว่า “บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมาย เพื ่อให้พ้นจากความรับผิดในทางอาญาไม่ได้ แต่ถ้าศาลเห็นว่าตามสภาพและพฤติกรรมผู ้กระทำความผิดอาจจะไม่รู ้ กฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั ้นเป็นความผิด ศาลอาจอนุญาตให้แสดงพยานหลักฐานต่อศาลเชื ่อว่าผู้กระทำมารู ้ว่า กฎหมายบัญญัติไว้เช่นนั ้น ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที ่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดเพียงใดก็ได้” จากบทบัญญัติ มาตรานี้จะเห็นได้ว่า กฎหมายยอมรับรู้ข้อแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมาย แต่การยอมรับของกฎหมายนี้ยังไม่เด็ดขาดโดยสิ้นเชิง เพราะถ้าศาลเชื่อว่า ผู้นั้นไม่รู้ว่ามีกฎหมายนั้นจริงๆ แล้วศาลเพียงแต่จะลงโทษให้น้อยลงเท่านั้น มิได้ยกเลิกการกระทำผิด นั้นให้สิ้นสภาพความผิดไป จากที่ได้กล่าวมาแล้วตั้งแต่ต้น จึงอาจสรุปประโยชน์ของการศึกษากฎหมายได้ดังนี้ 1. ประโยชน์ในด้านการศึกษาทางสังคมศาสตร์ เพราะนิติศาสตร์เป็นการศึกษาด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับ การกำหนดบทบาทและพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมโดยมาตรการทางกฎหมาย 2. ประโยชน์อันเกิดจากการได้รู้สิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย เพราะเมื ่อเราอยู่รวมกันเป็นสังคม การกำหนด ขอบเขตความประพฤติของบุคคลให้อยู่ภายใต้กฎหมายข้อบังคับ จึงมีความจำเป็น ทั้งนี้เพื่อความสงบสุขและความเป็น ระเบียบเรียบร้อยของสังคม 3. ประโยชน์จากการระวังตัวเองไม่พลั้งพลาดกระทำผิดอันเนื่องมาจากหลักที่ว่า “ความไม่รู้ข้อกฎหมายไม่ เป็นข้อแก้ตัว” เพราะถ้าทำผิดแล้วก็ต้องเกิดความรับผิดเสมอไป เว้นแต่กฎหมายจะเปิดโอกาสให้กล่าวอ้างข้อแก้ตัวได้ เฉพาะในบางกรณี 4. ประโยชน์ทางวิชาชีพ ซึ ่งเป็นประโยชน์โดยตรง เพราะการประกอบอาชีพต่างๆ ก็ล้วนแต่อาศัยกฎหมาย ทั ้งสิ ้น ทั ้งนี ้ เพราะกฎหมายเข้ามาเกี่ยวพันกับชีวิตของเราตลอดเวลา เช่น ทำการค้าต้องเสียภาษีอากรตามประมวล รัษฎากร ต้องจ้างคนทำงานตามกฎหมายแรงงาน ดังนั ้น ประโยชน์ที ่ได้จากการศึกษากฎหมายจึงเป็นการเพิ่ม ประสิทธิภาพการประกอบอาชีพ 5. ประโยชน์ทางการเมืองการปกครอง เมื ่อเราเป็นประชาธิปไตย สิทธิหน้าที่ของประชาชนจึงมีความสำคัญ เป็นหัวใจของการปกครอง เมื ่อประชาชนได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนครบถ้วนและใช้สิทธิต่างๆ ตามกฎหมายแล้ว ก็จะเป็นการ เสริมสร้างความมั่นคงของการปกครองและการบริหารงานทางการเมืองให้สอดคล้องตาม และสำหรับกฎหมายเกี ่ยวกับการท่องเที ่ยวด้วยแล้ว นับว่ามีความสำคัญสำหรับผู ้ที ่ต้องประกอบวิชาชีพ เกี ่ยวข้องกับธุรกิจการท่องเที ่ยวเป็นอย่างมาก ทั ้งนี ้เพราะในอาชีพที ่เกี ่ยวข้องกับธุรกิจประเภทนี ้ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ประกอบการท่องเที่ยวหรือผู้เป็นมัคคุเทศก์ ล้วนแล้วแต่ต้องมีส่วนที่ต้องไปเกี่ยวข้องกับกฎหมายทั้งสิ้น โดยเริ่มต้นที่การ ที่จะเข้ามาเป็นผู้ประกอบกิจการท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็น การประกอบกิจการนำเที่ยวทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ หรือการเป็นมัคคุเทศก์ทั ้งประเภททั ่วไปและมัคคุเทศก์ประเภทเฉพาะ ผู ้ประกอบการต้องขึ ้นทะเบียนรับใบอนุญาต ประกอบการตามกฎหมายก่อนทั้งสิ้น จึงจะสามารถประกอบอาชีพหรือธุรกิจนั้นได้ นอกจากนี้ผู้ประกอบการในธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว เช่น ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจสถานบริการ ธุรกิจด้านโบราณวัตถุ ฯลฯ ผู้ประกอบ กิจการเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการตามกฎหมาย ก่อนการประกอบกิจการด้วยกันทั้งสิ้น หากเป็นเป็นธุรกิจนำเที่ยว หรือมัคคุเทศก์นอกจากต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการก่อนการดำเนินการแล้ว การจะเข้าไปดำเนินการในเขตอุทยานแห่งชาติ หรือเขตโบราณสถานต่างๆ ผู ้ประกอบการนำเที ่ยว หรือมัคคุเทศก์ ก็ จำเป็นต้องทราบถึงกฎเกณฑ์ ระเบียบของการเข้าไปใช้บริการในสถานที ่เหล่านั ้นด้วย เพราะในทุกสถานที ่ที ่เป็นแหล่ง ท่องเที่ยว จะมีกฎหมายกำหนดแนวทางในการปฏิบัติในแต่ละสถานที่ ในส่วนของการขายหรือจำหน่ายสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยวก็เช่นกัน ในปัจจุบันจะพบว่ามีการหลอกลวงขาย สินค้าให้แก่นักท่องเที ่ยวจำนวนมาก จนส่งผลกระทบต่อภาพพจน์ของประเทศจนเป็นที ่กล่าวกันในหมู ่นักท่องเที ่ยวว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตสินค้าปลอม และเป็นแหล่งหลอกขายสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยว นับว่าเป็นเรื่องเสื่อมเสียชื่อเสียง เป็นอย่างมาก ดังนั้นหากได้นำเอากฎหมายฉ้อโกง ที่กำหนดความผิดมาอธิบายให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวได้เข้าใจ ก็อาจจะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในได้ ฯลฯ จึงจะเห็นได้ว่ากฎหมายเกี ่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที ่ยวนั้น นับว่าเป็นสิ่งสำคัญที ่ผู้เกี ่ยวข้องควรรู ้และ ศึกษาเพื่อที่จะได้เข้าใจในกฎเกณฑ์ สิทธิและหน้าที่ของตนเพื่อจะได้นำไปปฏิบัติ ไม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่สังคมแล